Home

 จังหวัดศรีสะเกษ

cropped-e0b895e0b8a3e0b8b2e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8aae0b8b0e0b980e0b881e0b8a9.png

ตราประจำจังหวัด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • คำขวัญประจำจังหวัด : หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอมกระเทียมเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี
  • ตราประจำจังหวัด : รูปปรางค์กู่มีดอกลำดวน 6 กลีบอยู่เบื้องล่าง (เดิมใช้ภาพปราสาทหินเขาพระวิหารเป็นตราประจำจังหวัด มาเปลี่ยนเป็นตราปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นลำดวน (Melodorum fruticosum)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกลำดวน
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : กบนา (Hoplobatrachus rugulosus)
  • เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด : ด้านหน้าภาพปราสาทสระกำแพงใหญ่, ด้านหลังภาพ ปรางค์กู่และดอกลำดวน

ตราปราสาทพระวิหาร ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2483 – 2512

ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน

 

ต้นลำดวน ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ

 

ดอกลำดวน ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ

 

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองเป็น 2,557 หมู่บ้าน, 206 ตำบล, 22 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองศรีสะเกษ
  2. อำเภอยางชุมน้อย
  3. อำเภอกันทรารมย์
  4. อำเภอกันทรลักษ์
  5. อำเภอขุขันธ์
  6. อำเภอไพรบึง
  7. อำเภอปรางค์กู่
  8. อำเภอขุนหาญ
  9. อำเภอราษีไศล
  10. อำเภออุทุมพรพิสัย
  11. อำเภอบึงบูรพ์
  1. อำเภอห้วยทับทัน
  2. อำเภอโนนคูณ
  3. อำเภอศรีรัตนะ
  4. อำเภอน้ำเกลี้ยง
  5. อำเภอวังหิน
  6. อำเภอภูสิงห์
  7. อำเภอเมืองจันทร์
  8. อำเภอเบญจลักษ์
  9. อำเภอพยุห์
  10. อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
  11. อำเภอศิลาลาด

ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.47 ล้านคน  ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว (สำเนียงลาวใต้ซึ้งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์), ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมรถิ่นไทย ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม

มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์  และในสมัยรัชกาลที่ 5แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ผามออีแดง, สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ, ปรางค์กู่, ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย, ปราสาทสระกำแพงใหญ่, ปราสาทเยอ, ปราสาทหินบ้านปราสาท, ปราสาทหินโดนตวล, บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ, ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ, พืชสวน เช่น หอมแดง, กระเทียม และยางพารา ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง

ภูมิประเทศ

จังหวัดศรีสะเกษนั้น ตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยาว 127 กิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในจังหวัดชื่อ “พนมตาเมือน” สูง 673 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จากเขาพนมตาเมือนนี้ พื้นที่ค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางเหนือเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลอนลาด มีระดับความสูงระหว่าง 150-200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่านพื้นที่ราบนี้ลงไปยังแม่น้ำมูล ลำน้ำสายสำคัญได้แก่ ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ และห้วยขะยุง

ตัวจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยสำราญ ห้วยน้ำคำและห้วยขะยุง ห่างจากแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณสิบกิโลเมตร และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 126 เมตร

ทุ่งกุลาร้องไห้

ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านเขตอำเภอศิลาลาด,อำเภอราษีไศล,อำเภอเมืองศรีสะเกษ,อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ เป็นระยะทางยาวประมาณ 120 กิโลมเตร บริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115-130 เมตร

ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้

ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย

ภูดินแดง

เป็นพื้นที่ภูเขาไฟเก่า จัดเป็นดินร่วนปนทราย มีสีแดงจึงเรียกว่า ดงดินแดง หรือ ภูดินแดงซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญได้ เขตภูดินแดงเป็นแนวภูเขาไฟเก่าที่มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ลึกเข้ามาจากแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายเขตแดนไทยกับกัมพูชา เป็นรอยต่อของอำเภอเบญจลักษณ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษณ์ เขตนี้จึงเป็นย่านที่ปลูกพืชสวนสำคัญๆ ได้ผลดี เช่น เงาะ ทุเรียน ยางพารา ฯลฯ

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมารฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะมีฝนตก 100 วัน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 66-73 ในเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 62.24 และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 71.95 ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดวัดได้ในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 78.16 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน หลังจากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงช่วงสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยมีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 73.80, 68.67 และ 66.45 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว

ค่าศักย์การคายระเหยน้ำในจังหวัดศรีสะเกษจะแปรผันไปตามฤดูกาล กล่าวคือในเดือนมกราคม มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ 117.89 มิลลิเมตร ค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 146.30 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุด และในเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 142.23 มิลลิเมตร หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำได้ลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน โดยมีค่า 122.65 มิลลิเมตร ค่าศักย์การระเหยน้ำต่ำสุดอยู่ในเดือนกันยายนซึ่งมีค่า 85.93 มิลลิเมตร จากนั้นค่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม [45]

ผามออีแดงตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผ้ามออีแดง

น้ำตกห้วยจันทร์ หรือ น้ำตกกันทรอม ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำตกห้วยจันทร์ ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

น้ำตกห้วยจันทร์